เปิด 10 อาชีพอุตสาหกรรมการบินที่น่าสนใจ ที่คุณห้ามพลาด!

          หากจะกล่าวถึงอาชีพในอุตสาหกรรมการบิน สองอาชีพที่เรามักคิดถึงนั้นก็คือนักบินและแอร์โฮสเตส แต่ในความเป็นจริงมีอีกหลากหลายอาชีพที่ทำงานในสนามบิน วันนี้ วิชาการ ได้รวบรวม 10 อาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับการบินมาให้ทุกท่านได้ศึกษาดูว่าแต่ละอาชีพทำอะไรกันบ้าง

  1. เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller)
    •  ซึ่งทำหน้าที่ดูแล,ความคุม,ให้สัญญาณ การจราจรภายในอาณาเขตทางอากาศที่รับผิดชอบ รวมถึงให้คำสั่งการลงจอดและการบินขึ้นของเครื่องบินในแต่ละเที่ยวบิน อีกทั้งยังต้องวิเคราะห์สภาพอากาศและวางแผนเส้นทางการบินของแต่ละเที่ยวบิน อีกด้วย
  2. พนักงานบริการภาคพื้น (Ground Attendant/Ground Services/Airport Station Attendant)
    • โดยหลายคนอาจจะเรียกสั้น ๆ ว่า “Ground” ซึ่งมีหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารตั้งแต่ การ Check-in, โหลดกระเป๋า, ตรวจตั๋วหรือตอบคำถามจากผู้โดยสาร อีกทั้งยังสื่อสารกับแอร์โฮสเตสเพื่อให้การเดินทางราบรื่น ซึ่งงานประเภทนี้เหมาะกับคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีและมีความสามารถด้านภาษา
  3. วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Maintenance Engineer)
    • เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีความต้องการสูง โดยมีหน้าที่หลักในการซ่อมบำรุงและตรวจสอบสภาพของพาหนะทางอากาศเช่น ตรวจสอบหาส่วนที่ชำรุดของเครื่องบิน, ซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่เครื่องบิน และบันทึกการซ่อมบำรุงของเครื่องบินแต่ละเครื่อง
  4. เจ้าหน้าที่บริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น (Ground Equipment Services)
    • เป็นอีกหนึ่งตำแหน่งบนภาคพื้นที่ให้ความสะดวกในแต่ละเที่ยวบิน เช่น จัดการสัมภาระของผู้โดยสาร, เคลื่อนย้ายเครื่องบินบนรันเวย์, เติมเชื้อเพลิงเครื่องบิน และช่วยนักบินตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องบินก่อนและหลังขึ้นบิน
  5. เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ (Cargo Services)
    • มีหน้าที่รับผิดชอบการขนย้ายสินค้าที่มาพร้อมกับเครื่องบินขนย้ายสินค้า (Cargo Aircraft) โดยต้องรับส่งสินค้าตามเวลาที่กำหนด, จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง, และกับค่าขนส่งกับลูกค้า นอกจากนี้การขนย้ายสินค้าระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ยังต้องช่วยลูกค้าดำเนินเรื่องด่านศุลกากรอีกด้วย
  6. เจ้าหน้าที่ฝ่ายครัวการบิน (Catering)
    • เป็นงานที่เหมาะกับคนชอบทำอาหารหรืออยู่คลุกคลีในครัว โดยเริ่มตั้งแต่การเลือกเมนูอาหาร, วางแผนการผลิต, คัดสรรวัตถุดิบ, ปรุงอาหาร และส่งขึ้นเครื่อง ถือว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะการจัดการที่ดีในการปรุงอาหารจำนวนมากและจัดส่งตามเวลาที่กำหนด
  7. เจ้าหน้าที่จองตั๋วเครื่องบิน (Reservation Sales Agent)
    • ข้อเสียของการจองตั๋วเครื่องบินผ่านแอปต่าง ๆ คือหลายแอปไม่ให้ข้อมูลที่ละเอียด แต่เจ้าหน้าที่จองตั๋วเครื่องบิน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสายการบินแก่ลูกค้าและตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับเที่ยวบินเช่น ราคาเที่ยวบิน, อาหารบนเครื่อง, การจองที่นั่ง, ข้อมูลการเช่ารถ, และอธิบายกฎและข้อบังคับของสายการบินอีกด้วย
  8. วิศวกรการบินและอวกาศ (Aerospace engineer)
    • จะทำงานเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องบินใหม่ กล่าวคือออกแบบชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องบินอย่างละเอียด และตรวจสอบว่าชิ้นส่วนที่ออกแบบมานั้นเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยหรือไม่ นอกจากนี้ยังต้องทำการทดสอบเครื่องบินที่ออกแบบมาใหม่และหาวิธีแก้ไขหากเกิดปัญหา
  9. นักฉุกเฉินการแพทย์ทางอากาศ (Flight Paramedic)
    • รับผิดชอบดูแลการขนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ ซึ่งหน้าที่โดยทั่วไปประกอบไปด้วยประเมินอาการผู้ป่วย, เรียงลำดับความสำคัญของการรักษา, จัดและตรวจสอบอุปกรณ์ทางการแพทย์บนเครื่องบิน และพยุงชีพผู้ป่วยขณะเดินทาง โดยผู้ที่จะทำตำแหน่งนี้ต้องผ่านการเป็นนักฉุกเฉินการแพทย์มาก่อน
  10. ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน (Avionics Technician)
    • เป็นตำแหน่งที่ดูแลรักษาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสายไฟบนเครื่องบิน ซึ่งมีหน้าที่ในการเดินสายไฟบนเครื่องบิน, เชื่อมต่อวงจรนำทาง, ติดตั้งระบบวิทยุและจอภาพบนเครื่องบิน โดยตำแหน่งนี้จำเป็นจะต้องได้รับการฝึกอบรม หรือเรียนสาขาด้านนี้มา

Reference:

  • Indeed Editorial Team.  (2566).  18 Jobs in the Aviation Industry.  สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://indeedhi.re/3ZmZjDl
  • Plook Magazine.  (2565).  อยากทำอาชีพด้านการบิน มีอาชีพอะไรบ้างนะ ? รู้จักธุรกิจการบินที่ไม่ได้มีแค่นักบินกับแอร์ฯ.  สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://bit.ly/3F0EdT9
  • P’Menu SPU.  (2564).  ส่อง 9 อาชีพด้านสายการบิน เพราะในสนามบินไม่ได้มีแค่นักบินและแอร์โฮสเตส.  สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://bit.ly/3JcLOAt



วิชาการ
Logo
Enable registration in settings - general