รู้จักภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป “LAAB” ทางเลือกใหม่ป้องกันโรคโควิด- 19

          จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ทำให้มีการพัฒนาวิธีป้องกันและบรรเทาอาการจากโรคโควิด- 19 มากมาย ตามที่เทคโนโลยีและวิทยาการทางการแพทย์จะสามารถทำได้ในปัจจุบัน โดยวิธีทั่วไปที่เรารู้จักกันดีคือการฉีดวัคซีนโควิด- 19

          แต่ในปัจจุบันเราก็มีทางเลือกใหม่ในการป้องกันโรคโควิด -19 ด้วย นั่นคือ เทคโนโลยีภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Long Acting Antibody : LAAB) โดย วิชาการ ขอเรียกย่อ ๆ ว่า “LAAB” จะเป็นอย่างไร ป้องกันโรคโควิด- 19 ได้ดีแค่ไหน ไปดูรายละเอียดกันได้เลย

“LAAB” คืออะไร ?

          Long Acting Antibody : LAAB หรือ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป คือเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการจากโรคโควิด- 19 โดยเป็นแอนติบอดีที่ทำหน้าที่ออกฤทธิ์ยาว ซึ่งมีกลไกไปจับกับบริเวณโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสโควิด- 19 ทำให้ตัวเชื้อไวรัสไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ได้

          นอกจากนี้ลักษณะการทำงานของ LAAB จะช่วยเข้าไปเสริมภูมิคุ้มกันในกลุ่มผู้ป่วยอ่อนแอ ที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อย เมื่อทำการฉีด LAAB เข้าไป ร่างกายจะสามารถต้านทานต่อเชื้อโควิดได้สูงทันทีภายหลังฉีด ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อและการป่วยหนักได้

“LAAB” มีประสิทธิภาพแค่ไหน ?

          จากผลวิจัยทางการแพทย์พบว่า LAAB สามารถช่วยป้องกันการติดโรคโควิด -19 ได้ร้อยละ 83 ภายในระยะเวลาถึง 6 เดือน และยังสามารถมีผลลบล้างฤทธิ์ของโรคโควิด-19 ทุก ๆ สายพันธุ์ได้อีกด้วย

“LAAB” แตกต่างจากวัคซีนโควิด -19 ทั่วไปอย่างไร ?

LAAB

  • เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกาย จะทำหน้าที่เข้าไปช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ทันที เหมือนกับใส่เกราะป้องกันสำเร็จรูป

วัคซีนโควิด-19

  • เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายจะทำหน้าที่ไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ขึ้นมาเอง เหมือนการฉีดสารตั้งต้นให้ร่างกายไปสร้างเกราะป้องกันเอง ทำให้ล่าช้า และประสิทธิภาพการป้องกันขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันไปของแต่ละคน

จะฉีด “LAAB” ได้ที่ไหนในประเทศไทย ?

         จากการหาข้อมูลของวิชาการ พบว่า LAAB เริ่มมีใช้ในประเทศไทยแล้ว โดยจะพิจารณาฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ โรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค (โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน) ตามดุลยพินิจของแพทย์ และสำหรับบุคคลทั่วไปสามารถสอบถามขอรับการฉีด LAAB ได้ตามรายละเอียดในเว็บไซต์  Checkgorn.com ได้เลย

 

 

Reference:

  • กรุงเทพธุรกิจ.  (2566).  รู้จัก “LAAB” ภูมิคุ้มกันสำเร็จ สำหรับ “กลุ่มเสี่ยง” โควิด ภูมิฯ ต่ำ.  สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566, จาก https://bit.ly/3AHMybQ
  • BBC News Thai.  (2566).  โควิด-19 : รู้จักภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) รักษาโควิด ที่ สธ. กำลังเริ่มนำมาใช้.  สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566, จาก https://bit.ly/40PHGfu

วิชาการ
Logo
Enable registration in settings - general