ประเทศจีน ถือว่าเป็นตลาดการส่งออกผลไม้ที่สำคัญของไทย เนื่องจากประเทศจีนให้ความสำคัญกับการบริโภคผลไม้ที่มีคุณภาพสูงมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดผลไม้ไทยมีแนวโน้มส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปีจากการตอบรับและได้รับความนิยมบริโภคผลไม้ไทยในประเทศจีน
ทำให้ผู้ค้าส่งทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่า มองหาวิธีการในการเพิ่มปริมาณผลผลิต ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคชาวจีนได้มากที่สุด บทความนี้ วิชาการ จะพามาดูรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการส่งออกผลไม้ไทยไปยังประเทศจีนกัน ไปดูรายละเอียดกันได้เลย
การผลักดันผลไม้ไทยในการส่งออก
กระทรวงพาณิชย์ มี “มาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุกปี 2566” เข้ามาช่วย โดยตั้งเป้าผลักดันการส่งออกผลไม้ทั้งสดและแปรรูปตลอดฤดูการผลิตไว้ประมาณ 4.44 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มจากปีก่อน 10% ผ่าน 22 มาตรการเชิงรุก ที่แบ่งการดูแลออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
- ด้านการผลิต
- ด้านการตลาดในประเทศ
- ด้านการตลาดต่างประเทศ
- ด้านกฎหมาย
มาตรการที่เกี่ยวข้องในการส่งออกสินค้า
- จัดตั้งทีมเซลส์แมนจังหวัด-ประเทศประสานงานกัน ช่วยระบายผลไม้ของเกษตรกรทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ
- ส่งเสริมการแปรรูปช่วยค่าบริหารจัดการแปรรูปผลไม้ เช่น ลำไยอบแห้ง, ทุเรียนแช่แข็ง ฯลฯ
- ส่งออกผลไม้สู่ตลาดจีนในโครงการ Thai Fruits Golden Months การขายผ่าน TV Shopping
- ส่งเสริมการส่งออกผลไม้ในงานแสดงสินค้านานาชาติ เช่น THAIFEX-Anuga Asia และ GULF FOOD ฯลฯ
- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความเชื่อมั่นผลไม้ไทย เช่น Country Brand ส่งเสริมภาพลักษณ์อุตสาหกรรมมะพร้าวไทย เป็นต้น
ประเทศคู่แข่งในการส่งออกสินค้าของไทย
ประเทศที่จีนนำเข้าผลไม้มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
- ไทย
- ชิลี
- เวียดนาม
- ฟิลิปปินส์
- สหรัฐอเมริกา
และในปี 2565 ที่ผ่านมา จีนนำเข้าผลไม้จากไทยมากที่สุดคิดเป็นมูลค่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาด้วยประเทศชิลี เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา และหากแยกตามมณฑลแล้ว พบว่า มณฑลกวางตุ้งมีมูลค่าการนำเข้าผลไม้ไทยมากที่สุด รองลงมาคือ มณฑลเจ้อเจียงและมณฑลยูนนาน ตามลำดับ อีกทั้งผลไม้ไทยที่มีการส่งออกไปจำหน่ายในตลาดจีนหลัก ๆ ได้แก่ ทุเรียน, มังคุด, ลำไย และมะพร้าว
ผลไม้ที่นิยมส่งออกไปยังประเทศจีน
ประเทศจีนและไทยจึงมีการตกลงทำสารข้อตกลงร่วมกันในการเรื่องของการตรวจสอบและกักกันโรคซึ่งได้มีการกำหนดรายชื่อผลไม้ 22 ชนิดที่ประเทศจีนอนุญาตให้นำเข้าจากไทยตามประกาศ General Administration of Customs of the People’s Republic of China (GACC) ได้แก่
- มะขาม, น้อยหน่า, มะละกอ, มะเฟือง, ฝรั่ง
- เงาะ, ชมพู่, ขนุน, ลองกอง, สับปะรด
- ละมุด, กล้วย, เสาวรส, มะพร้าว, ลำไย
- ทุเรียน, มะม่วง, ลิ้นจี่, มังคุด, พวกส้ม(ส้มเปลือกล่อน ส้ม ส้มโอ)
ซึ่งการนำเข้าผลไม้มายังประเทศจีนต้องผ่านผู้นำเข้าของจีนเท่านั้น เนื่องจากรัฐบาลจีนไม่ยินยอมให้กิจการของต่างชาติมาประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออกในประเทศจีน เว้นแต่จะมีการร่วมทุนกับนักธุรกิจจีนเพื่อจัดตั้งบริษัททางการค้า (Trading Firm)
เส้นทางการส่งออกผลไม้ไทย
ปัจจุบันมีช่องทางการส่งออกหลายเส้นทางด้วยกัน เช่น
- ทางบก
- ทางอากาศ
- ทางเรือ
รวมถึงช่องทางการกระจายและการจำหน่ายสินค้าก็มีหลากหลาย แต่แบ่งออก หลัก ๆ เป็น 2 แบบ ได้แก่ช่องทาง ออนไลน์ และออฟไลน์ (มีหน้าร้านจำหน่าย) สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวจีนได้อย่างทั่วถึง
อุปสรรคในการนำเข้าสินค้าผลไม้ไทย
อุปสรรคหนึ่งในการนำเข้าสินค้าผลไม้ไทย คือแม้ว่าประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าผลไม้หลักในจีน แต่เนื่องจากจีนประชากรในประเทศมีจำนวนมาก ทำให้ความต้องการบริโภคผลไม้จึงสูงตามไปด้วย
ในปัจจุบัน จีนได้อนุญาตให้ เวียดนามและ ฟิลิปปินส์ ส่งทุเรียนมายังจีน ซึ่งถือว่าเป็นคู่แข่งทางการค้าสำคัญของไทยเลยก็ว่าได้ มาตรการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการค้าและเกษตรกรไทยมากน้อยแค่ไหน คงต้อรอดูกันต่อไป
Reference:
- ไทยรัฐออนไลน์. (2566). 22 มาตรการเชิงรุก ดันราคาผลไม้ปี 2566. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566, จาก https://bit.ly/42RUweN
- คิดค้า.com. (2566). สถานการณ์และแนวโน้มของตลาดผลไม้ในจีน ปี 2566. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566, จาก https://bit.ly/3WjEvvW
- Posttoday. (2566). จุรินทร์ ลุยเคาะ 22 มาตรการเชิงรุกดันผลไม้ราคาดีตลอดฤดูกาลปี 66. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566, จาก https://bit.ly/3MJPOKE