หลาย ๆ คนถ้าพูดถึง จำนวน, การหาค่า, การเทียบสัดส่วนของวิชาคณิตศาสตร์ ก็ปวดหัวไปสามวัน เจ็ดวัน ยิ่งถ้าเจอโจทย์การหาสัดส่วนหรือบัญญัติไตรยางศ์แล้วละก็ ยิ่งปวดหัวไปกันใหญ่ แม้ว่าการคำนวณเรื่องบัญญัติไตรยางศ์ จะเป็นอีกลักษณะหนึ่งของการเปรียบเทียบสิ่งของสองสิ่ง เพื่อหาค่าที่สาม หรือค่าที่สี่
แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่เราจะเข้าใจทั้งหมด แต่ถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้นก็ จะสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้ทันกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ ตาม วิชาการ ไปดูรายละเอียดกันได้เลย
ความหมายของบัญญัติไตรยางศ์
บัญญัติไตรยางศ์ คือ การเปรียบเทียบหาค่าที่สามหรือค่าที่สี่ เมื่อรู้ว่าค่าที่หนึ่ง ค่าที่สอง หรือค่าสามอยู่แล้ว ซึ่งการเปรียบเทียบสิ่งของจำนวนที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน เรียกว่าการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ และคำว่าบัญญัติไตรยางศ์ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “Rule of Three”
ส่วนในเว็บไซต์ Longdo.dict ได้ให้ความหมายไว้ว่า
วิธีเลขอย่างหนึ่ง ซึ่งกำหนดส่วนสัมพันธ์ของเลขสาม จำนวนเพื่อหาจำนวนที่สี่ โดยวิธีเทียบหาหนึ่งก่อน แล้วจึงไปหาส่วนที่ต้องการ ด้วยการนำเลขทั้ง สามจำนวนที่กำหนดให้และที่ให้หามาคูณหารกันเป็นสามขั้น
ประเภทของบัญญัติไตรยางศ์
โดยบัญญัติไตรยางศ์ จะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
ประเภทที่ 1 : บัญญัติไตรยางศ์แบบแปรผันตรง
เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อสิ่งหนึ่งเพิ่ม อีกสิ่งหนึ่งก็จะเพิ่มตาม หรือถ้าสิ่งหนึ่งลดก็จะลดตามไปด้วย เช่น
- ถ้าซื้อส้ม 6 กิโลกรัม เป็นเงิน 300 บาท ถ้าซื้อส้ม 10 กิโลกรัม จะเป็นเงินเท่าไหร่
จากโจทย์จะเห็นได้ว่า ถ้าต้องการซื้อส้มเพิ่มขึ้นจะต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ?
เรามาหาคำตอบ จากโจทย์นี้ดูว่าจะต้องจ่ายเงินกี่บาท
ขั้นแรกเราต้องหาก่อนว่า ส้ม 1 กิโลกรัม เป็นเงินกี่บาท
300/6 = 50 บาทต่อกิโลกรัม
แล้วเราจะซื้อ 10 กิโลกรัมจะได้ว่า 10*50 = 500 บาท หรือ (300/6)*10 = 500
ดังนั้น ถ้าเราต้องการซื้อส้มเพิ่มเป็น 10 กิโลกรัม ก็ต้องจ่ายเงินเพิ่ม 500 บาท
ประเภทที่ 2 : บัญญัติไตรยางศ์แบบผกผัน
เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทิศตรงกันข้ามทาง กล่าวคือ เมื่อสิ่งหนึ่งเพิ่ม สิ่งหนึ่งก็จะลดตาม เช่น
- วัว 2 ตัว กินหญ้า 10 กิโลกรัม หมดภายใน 1 วัน แล้วถ้าวัว 20 ตัว จะกินหญ้าได้ทั้งหมดกี่กิโลกรัมในเวลาเท่ากัน
จากโจทย์จะเห็นได้ว่า ถ้ามีวัวเพิ่มขึ้น จะกินหญ้าได้ทั้งหมดกี่กิโลกรัม ?
เรามาหาคำตอบของโจทย์ข้อนี้กัน
ขั้นแรกเราแยกโจทย์ที่ให้มาให้ได้ก่อน
- ปริมาณวัว (ตัว)
- ปริมาณหญ้า (กิโลกรัม)
- ระยะเวลา (วัน/ชั่วโมง)
วิธีหาคำตอบด้วยการเปรียบเทียบ 1 หน่วยเหมือนกับข้อแรก
วัว 2 ตัว กินหญ้าได้ 10 กิโลกรัม ใช้เวลาใน 1 วัน
วัว 1 ตัว กินหญ้า 10/2 = 5 กิโลกรัม ใน 1 วัน
ดังนั้น ถ้าวัว 20 ตัว (10/2)* 20 กิโลกรัม ใช้เวลาใน 1 วัน
= 100 กิโลกรัมในเวลา 1 วัน
Tip เล็ก ๆ ของวิธีเทียบบัญญัติไตรยางศ์ที่ง่ายที่สุด คือ การใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วหาให้ได้ว่า 1 หน่วย เท่ากับเท่าไหร่ เพื่อหาค่าที่ได้นำไปคำนวณหาค่าหน่วยที่โจทย์ถามหานั่นเอง
References:
- Airen804. (2562). บัญญัติไตรยางศ์ ตอนที่1. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2565, จาก https://bit.ly/3vmA3zz
- K. Pair (2562). บัญญัติไตรยางศ์ คือ อะไร? วิธี เทียบบัญญัติไตรยางศ์ ง่าย ๆ. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2565, จาก https://bit.ly/38Vmrnn
- Longdo.dict. (2565). บัญญัติไตรยางศ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2565, จาก https://bit.ly/3EfZjeL