ในช่วงเวลาใกล้สิ้นปีอย่างนี้ นอกจากจะเป็นเทศกาลหยุดยาวเพื่อฉลองปีใหม่แล้ว ก็ยังเป็นเทศกาลคำนวณภาษีอีกด้วย เพราะเหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะสิ้นปี จึงเป็นโค้งสุดท้ายสำหรับการหาช่องทาง การลดหย่อนภาษีที่ต้องจ่ายในปีหน้าช่วงเดือน มกราคม ถึง มีนาคม นอกจากเราจะสามารถนำ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ช็อปดีมีคืน, ดอกเบี้ยบ้าน, เงินบริจาค, และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับครอบครัว เรายังสามารถลดหย่อนภาษี ผ่านผลิตภัณฑ์การลงทุนหลายประเภท วันนี้ วิชาการ จะพาทุกท่านมาสำรวจวิธีช่วยลดหน่อยภาษี แถมยังสร้างความมั่นคงทางการเงินระยะยาวอีกด้วย
1.กลุ่มประกันชีวิตทั่วไป และ ประกันออมทรัพย์
โดยประกันทั้ง 2 ประเภทนี้สามารถนำมาลดหย่อนภาษี สูงสุดรวมกันได้ไม่เกิน 100,000 บาท
สำหรับประกันชีวิตที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ต้องมีหลักเกณฑ์ คือ
-
- มีระยะเวลาการคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป
- เป็นกรมธรรม์ที่ทำไว้กับบริษัทประกันที่จดทะเบียนในประเทศไทย
- การเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี เป็นการผิดเงื่อนไข และไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
หากใครเป็นกำลังหลักในการหารายได้ให้ครอบครัว การทำประกันชีวิตเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ยิ่งไปกว่านั้นหากทำประกันแบบออมทรัพย์ก็จะได้รับความคุ้มครอง และเป็นการบังคับออมเงินไปในตัวที่ดีอีกด้วย อีกทั้งประกันแบบออมทรัพย์ ยังมีข้อดีอีกด้วย คือ
-
- คุ้มครองชีวิตและให้ความมั่นคงกับลูกหลาน
- ทำให้มีเงินก้อนไว้ใช้ในอนาคต
- จำนวนผลตอบแทนชัดเจน
- เบี้ยประกัน สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้
2.กลุ่มเพื่อการเกษียณอายุ
เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มุ่งเน้นสร้างความมั่นคง ทางการเงินในวัยเกษียณ เช่น ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กบข, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน, กองทุน RMF และ SSF โดยสามารถนำมาลดหย่อนรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท ภายในกลุ่มนี้
-
- กองทุน RMF
RMF ย่อมาจาก Retirement Mutual Fund หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และสามารถนำมาลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท - กองทุน SSF
SSF ย่อมาจาก Super Saving Funds หรือ กองทุนรวมเพื่อการออม โดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนหันมาออมระยะยาว ด้วยแรงจูงใจด้านการลดหย่อนภาษี โดย SSF สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท3.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
Provident Fund (PVD) หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับลูกจ้างหรือพนักงานบริษัท โดยสามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุน RMF
3.ประกันชีวิตแบบบำนาญ
โดยประกันชีวิตประเภทนี้สามารถนำมาคิดรวมเพื่อลดหย่อนภาษีได้ในอัตรา 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับผลิตภัณฑ์อื่นในกลุ่มนี้ต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีหลักเกณฑ์ คือ
-
-
- มีระยะเวลาการคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป
- เป็นกรมธรรม์ที่ทำไว้กับบริษัทประกันที่จดทะเบียนในประเทศไทย
- จ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวด
-
4.กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
เป็นอีกช่องทางการออมเพื่อเกษียณสำหรับอาชีพอิสระ เช่น ฟรีแลนซ์, เกษตรกร, ทำการค้า, แม่บ้าน และ รับจ้าง ที่มีอายุ 15-60 ปี โดยสามารถนำมาลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 13,200 บาท ต่อปี
5.ประกันสังคม
หากท่านจ่าย ประกันสังคมไม่ว่าจะเป็นมาตรา 33, 39 หรือ 40 จะสามารถนำมาลดหย่อน ได้ไม่เกิน 9,000 บาท แต่เนื่องจากในปีนี้ ทางรัฐมีการลดอัตราการเก็บประกันสังคม ฉะนั้นปี 2565 เราสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 6,300 บาทเท่านั้น
6.ลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม
โดยผู้ที่ลงหุ้น หรือ ลงทุน ใน Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) ตั้งแต่ปี 2564 สามารถนำเงินที่ลงทุนยื่นขอลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีหลักเกณฑ์คือ
-
- จ่ายเงินเพื่อเป็นหุ้นส่วนหรือลงทุนเพื่อจัดตั้งหรือเพิ่มทุน สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้ง เพื่อดำเนินธุรกิจ Social Enterprise
- ธุรกิจดังกล่าวได้จดทะเบียนว่าเป็น Social Enterprise กับ อธิบดีกรมสรรพากร เพื่อผู้งทุนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
Reference:
- ผศ.ดร. ยุทธนา ศรีสวัสดิ์. (2565). ค่าลดหย่อน (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565, จาก https://bit.ly/3HD7FRn
- Finnomena. (2565). ลดหย่อนภาษี ปี 2565: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565, จาก https://bit.ly/3FURU6Z
- Moneybuffalo. (2565). [สรุปโพสต์เดียวจบ] ค่าลดหย่อนภาษี 2565 มีอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565, จาก https://bit.ly/3uXYxz4