ภาษี เป็นการเรียกเก็บเงินจากรัฐบาลสำหรับผู้ที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อนำเงินไปใช้จ่าย จัดสรรสวัสดิการ หรือก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้กับประเทศของเรา แต่การชำระภาษีส่วนบุคคลเอง ก็อาจเป็นภาระหรือกระทบต่อรายจ่ายของใครหลาย ๆ คน
ดังนั้นการวางแผนภาษีส่วนบุคคลจึงมีความจำเป็นเพื่อที่เราจะได้เสียภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ และวางแผนการเงินได้อย่างเหมาะสม วันนี้ วิชาการ เลยอยากมาแนะนำเทคนิคการวางแผนภาษีส่วนบุคคลให้ทุกคนทราบกัน โดยจะเป็นอย่างไรนั้น ไปดูรายละเอียดกันได้เลย
แนะนำเทคนิคการวางแผนภาษีส่วนบุคคล รู้ไว้ได้ประโยชน์
การวางแผนภาษีส่วนบุคคล คืออะไร ?
สำหรับการวางแผนภาษีส่วนบุคคล คือ การเตรียมการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้อง ครบถ้วน และใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เราสามารถทำได้ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้น้อยลง ไม่ต้องเสียภาษีมากจนเกินไป รวมถึงไม่ต้องชำระภาษีเพิ่มหรือเสียเบี้ยปรับโดยใช่เหตุ
การวางแผนภาษีส่วนบุคคล มีประโยชน์อย่างไร ?
ข้อดีของการวางแผนภาษีส่วนบุคคล มีหลายประการ ดังนี้
- ช่วยให้เสียภาษีน้อยลง
- ช่วยให้มีเงินเหลือเก็บมากขึ้น จากการลดหย่อนภาษี
- ช่วยให้วางแผนการเงินระยะยาวของเราได้ดีขึ้น
ขั้นตอนการวางแผนภาษีส่วนบุคคล ทำอย่างไร ?
สำหรับการวางแผนภาษีส่วนบุคคล เราสามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอน ดังนี้
1. สำรวจข้อมูลเงินได้และค่าใช้จ่ายของเรา
- ในขั้นตอนแรกคือสำรวจข้อมูลรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งหมดของเราในปีภาษีนี้ โดยพิจารณาจากเอกสารต่าง ๆ เช่น
- สลิปเงินเดือน
- ใบเสร็จค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
- รายได้เสริมอื่น ๆ
เป็นต้น
2. ทำการคำนวณหาเงินได้พึงประเมิน
- เราจะต้องทราบถึงเงินได้พึงประเมิน คือ เงินได้ทั้งหมดที่ต้องเสียภาษี โดยคำนวณจากรายได้หักด้วยค่าใช้จ่ายที่หักได้ซึ่งสามารถทำการคำนวณออนไลน์ได้จากเว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/ ได้เลย
3. เตรียมข้อมูลค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- โดยเราจะต้องรวบรวมเอกสารต่าง ๆ ที่สามารถนำไปเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ เช่น
- หลักฐานการผ่อนชำระดอกเบี้ยเงินกู้บ้าน
- หลักฐานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- หลักฐานการชำระประกันสังคม
- หลักฐานการซื้อกองทุนต่าง ๆ
เป็นต้น
4. วางแผนการออมและการลงทุนเพื่อการลดหย่อนภาษี
- เมื่อเรารู้ว่าสามารถลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่แล้ว หากยังไม่เพียงพอการวางแผนการออมและการลงทุนเพิ่มเติมก็จะสามารถลดหย่อนภาษีมากขึ้นกว่าเดิมได้ เช่น
- การซื้อกองทุนรวม
- ซื้อประกันชีวิตเพิ่มเติม
เป็นต้น