ในช่วงเวลาใกล้สิ้นปีอย่างนี้ นอกจากจะเป็นเทศกาลหยุดยาวเพื่อฉลองปีใหม่แล้ว ก็ยังเป็นเทศกาลคำนวณภาษีอีกด้วย เพราะเหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะสิ้นปี จึงเป็นโค้งสุดท้ายสำหรับการหาช่องทาง การลดหย่อนภาษีที่ต้องจ่ายในปีหน้าช่วงเดือน มกราคม ถึง มีนาคม
นอกจากเราจะสามารถนำค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ดอกเบี้ยบ้าน, เงินบริจาค, ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับครอบครัว ฯลฯ เรายังสามารถลดหย่อนภาษี ผ่านผลิตภัณฑ์การลงทุนหลายประเภท วันนี้ วิชาการ จะพาทุกท่านมาสำรวจวิธีช่วยลดหน่อยภาษี แถมยังสร้างความมั่นคงทางการเงินระยะยาวอีกด้วย ไปดูรายละเอียดกันได้เลย
แนะ 7 ช่องทางการลงทุน เพื่อลดหย่อนภาษีปี 2566
1. กลุ่มประกันชีวิตทั่วไปและประกันออมทรัพย์
โดยประกันทั้ง 2 ประเภทนี้สามารถนำมาลดหย่อนภาษี สูงสุดรวมกันได้ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับประกันชีวิตที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ต้องมีหลักเกณฑ์ คือ
-
- มีระยะเวลาการคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- เป็นกรมธรรม์ที่ทำไว้กับบริษัทประกันที่จดทะเบียนในประเทศไทย
- การเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี เป็นการผิดเงื่อนไข และไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
หากใครเป็นกำลังหลักในการหารายได้ให้ครอบครัว การทำประกันชีวิตเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ยิ่งไปกว่านั้นหากทำประกันแบบออมทรัพย์ก็จะได้รับความคุ้มครอง และเป็นการบังคับออมเงินไปในตัวที่ดีอีกด้วย อีกทั้งประกันแบบออมทรัพย์ ยังมีข้อดีอีกด้วย คือ
-
- คุ้มครองชีวิตและให้ความมั่นคงกับลูกหลาน
- ทำให้มีเงินก้อนไว้ใช้ในอนาคต
- จำนวนผลตอบแทนชัดเจน
- เบี้ยประกัน สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้
2. กลุ่มเพื่อการเกษียณอายุ
เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มุ่งเน้นสร้างความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณ เช่น ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน, กองทุน RMF และ SSF โดยสามารถนำมาลดหย่อนรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท ภายในกลุ่มนี้
กองทุน RMF
- RMF ย่อมาจาก Retirement Mutual Fund หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และสามารถนำมาลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุน SSF
- SSF ย่อมาจาก Super Saving Funds หรือกองทุนรวมเพื่อการออม โดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนหันมาออมระยะยาว ด้วยแรงจูงใจด้านการลดหย่อนภาษี โดย SSF สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
กองทุน PVD
- Provident Fund (PVD) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับลูกจ้างหรือพนักงานบริษัท โดยสามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
3. ประกันชีวิตแบบบำนาญ
ประกันชีวิตประเภทนี้สามารถนำมาคิดรวมเพื่อลดหย่อนภาษีได้ในอัตรา 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับผลิตภัณฑ์อื่นในกลุ่มนี้ต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีหลักเกณฑ์ คือ
-
-
- มีระยะเวลาการคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- เป็นกรมธรรม์ที่ทำไว้กับบริษัทประกันที่จดทะเบียนในประเทศไทย
- จ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวด
-
4. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
เป็นอีกช่องทางการออมเพื่อเกษียณสำหรับอาชีพอิสระ เช่น ฟรีแลนซ์, เกษตรกร, ทำการค้า, แม่บ้าน, รับจ้างอิสระที่มีอายุ 15-60 ปี ฯลฯ โดยสามารถนำมาลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี
5. ประกันสังคม
หากท่านจ่ายประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 33, 39 หรือ 40 จะสามารถนำมาลดหย่อน ได้ไม่เกิน 9,000 บาทต่อปี (ตามอัตราสมทบเงินประกันสังคมที่ 5% คำนวณจากเพดานที่ 15,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกินเดือนละ 750 บาท)
6. ลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม
ผู้ที่ลงหุ้นหรือลงทุน ใน Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) ตั้งแต่ปี 2564 สามารถนำเงินที่ลงทุนยื่นขอลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีหลักเกณฑ์ คือ
-
- จ่ายเงินเพื่อเป็นหุ้นส่วนหรือลงทุนเพื่อจัดตั้งหรือเพิ่มทุน สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้ง เพื่อดำเนินธุรกิจ Social Enterprise
- ธุรกิจดังกล่าวได้จดทะเบียนว่าเป็น Social Enterprise กับอธิบดีกรมสรรพากร เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
Reference:
- ผศ.ดร. ยุทธนา ศรีสวัสดิ์. (2565). ค่าลดหย่อน (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565, จาก https://bit.ly/3HD7FRn
- Finnomena. (2565). ลดหย่อนภาษี ปี 2565: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565, จาก https://bit.ly/3FURU6Z
- Moneybuffalo. (2565). [สรุปโพสต์เดียวจบ] ค่าลดหย่อนภาษี 2565 มีอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565, จาก https://bit.ly/3uXYxz4