เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางปีก็มี 365 วัน อีกสักพักบางปีก็มี 366 วัน มันเป็นแบบนี้ได้อย่างไร ? แล้วปีนี้มีกี่วันกันแน่ ตาม วิชาการ ไปดูคำตอบกันได้เลย
1 ปี มีกี่วัน
- ปี 2567 (2024) มี 366 วัน (กุมภาพันธ์ มี 29 วัน)
- ปี 2568 (2025) มี 365 วัน (กุมภาพันธ์ มี 28 วัน)
- ปี 2569 (2026) มี 365 วัน (กุมภาพันธ์ มี 28 วัน)
- ปี 2570 (2027) มี 365 วัน (กุมภาพันธ์ มี 28 วัน)
- ปี 2571 (2028) มี 365 วัน (กุมภาพันธ์ มี 29 วัน)
1 ปี มีกี่วัน ขึ้นอยู่กับอะไร ?
ชาวโลกค้นพบว่าใน 1 ปี จะมี 365.25 วัน (365 วัน 5 ชั่วโมง 46 นาที) แต่ถ้าเราไปกำหนดวันเพิ่มให้มีอีก 6 ชั่วโมง ก็คงงงกันน่าดู ทำให้มนุษย์โลกปัดเศษทิ้งไปให้ 1 ปี มี 365 วัน แล้วค่อยไปชดเชยวันที่ขาดหายไป โดยในทุกๆ 4 ปี จะมีวันเพิ่มเข้ามาหนึ่งวัน เราเรียกปีที่มีวันเพิ่มขึ้นมาว่า ปีอธิกสุรทิน (ภาษาอังกฤษ: Leap year)
ในปีที่ถูกกำหนดให้มี 365 วัน (ภาษาอังกฤษ: Not a Leap Year) นั้น เมื่อเปิดดูปฎิทินในเดือนกุมภาพันธ์ จะพบว่าเดือนกุมภาพันธ์มีเพียง 28 วัน แต่ในทุกๆ 4 ปี โลกจะมีเดือนกุมภาพันธ์เป็นจำนวน 29 วัน ทำให้ปีนั้น มีทั้งหมด 366 วันนั่นเอง
ส่วนสาเหตุที่ 1 ปี มี 365.25 วันนั้น เนื่องจากว่าโลกใช้เวลา 365.25 วันในการหมุนโคจรรอบดวงอาทิตย์ เมื่อเราปัดเศษ 0.25 วันทิ้งไป เราจึงต้องมาชดเชยให้ในทุกๆ 4 ปี
ทำให้ 1 ปี มีวันเท่ากันตลอด ไม่ได้หรอ ?
ฟังดูการตัดให้ทุกปีมี 365 วันก็เป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกมาก ๆ แต่ความเป็นจริงแล้ววันที่เพิ่มเข้ามา 1 วันในทุก ๆ 4 ปีนี้สำคัญมากเช่นกัน เพราะมันเป็นการทำให้ปฎิทินของมนุษย์โลกสัมพันธ์กับปีทางสุริยคติ
สมมติว่าถ้าเราตัดออกไป 0.25 วัน (ประมาณ 5 ชั่วโมง 46 นาที) แค่ไม่กี่ปี ก็คงไม่ใช่ปัญหาอะไร แต่ถ้าเราสะสมไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้ปฎิทินของชาวโลกผิดเพื้ยนไปได้
ยกตัวอย่างเช่น
- ประเทศไทยที่ร้อนสุด ๆ ในเดือนเมษายน ถ้าเราตัดให้ทุก ๆ ปีมี 365 วัน เท่ากันหมด ไม่สนใจ 6 ชั่วโมงที่หายไป สะสมบ่อย ๆ เข้าไปเรื่อย ๆ จำนวน 6 ชั่วโมงที่หายไปนี้ก็จะถูกสะสมไปเรื่อย ๆ เป็นดินพอกหางหมู จากหลักชั่วโมงเป็นวัน เป็นสัปดาห์ เป็นปี และสุดท้ายเราอาจจะได้เล่นสงกรานต์กันในฤดูฝน แทนที่จะเล่นสงกรานต์ในฤดูร้อนก็เป็นได้
ดาวเคราะห์อื่น มีวันไม่เท่ากันบ้างไหม ?
นอกจากโลกแล้ว ดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ก็มีวันไม่เท่ากันเช่นเดียวกัน ที่เป็นเช่นนั้นเพราะดาวเคราะห์โคจรหมุนรอบดวงอาทิตย์ในทุกปี และหมุนรอบตัวเองทุกวัน ซึ่งมันก็ไม่ได้ตรงเปะเสียทีเดียว ดังนั้น ดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะก็ล้วนมีวันไม่เท่ากันในแต่ละปีเหมือนกัน
ยกตัวอย่างเช่น
- ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ที่มีปีอธิกสุรทิน มากกว่าปีปกติ โดยมีปีชดเชยถึง 6 ปี จาก 10 ปี
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะ 1 ปีในดาวอังคารใช้เวลา 668.6 วันในการหมุนรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้นในทุก ๆ 10 ปี ดาวอังคาร จะมี 4 ปีที่มี 668 วันตามปกติ และจะมี 6 ปี ที่มี 669 วัน