ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ มีประชาชนได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้มีการเรียกร้องของประชาชนให้แก้ไขปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่มีปริมาณฝุ่นสูง ซึ่งปัจจุบันบริเวณที่มีฝุ่นสูงอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย เนื่องจากพบเจอกับปัญหาในเรื่องของไฟป่า ทำให้มีหมอกควันในปริมาณที่สูงและมีผลกระทบต่อสุขภาพ วิชาการ มีความเรื่องฝุ่น PM 2.5 มาให้ทุกท่านได้ศึกษา
ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร
ฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นละอองในอากาศที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงสามารถแทรกซึมเข้าสู่ทางเดินหายใจ ปอดและหลอดเลือดได้ เมื่อมีปริมาณมาก ๆ จะดูคล้ายหมอกควัน
สาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5
- การเผาในที่โล่งแจ้ง
- การเผาในที่โล่งก่อให้เกิดกลุ่มควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก เช่น การเผาขยะ การเผาหญ้า การเผาพื้นที่การเกษตร ไฟป่า เป็นต้น
- การก่อสร้าง
- การก่อสร้างทำให้เกิดฝุ่นจากการขุดเจาะ การขุดดิน การบรรทุกดิน หิน ทราย ที่ใช้ในการก่อสร้าง
- การผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรม
- การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมก่อให้เกิดฝุ่นควันขนาดเล็กปล่อยออกสู่บรรยากาศ
- การคมนาคมขนส่งและการจราจร
- การคมนาคมขนส่งและการจราจรในประเทศที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ก่อให้เกิดเป็นไอเสียจากรถยนต์และจักรยานยนต์ปลดปล่อยสู่บรรยากาศ
- กิจกรรมในครัวเรือน
- กิจกรรมในครัวเรือนที่ก่อให้เกิดเป็นฝุ่นควัน เช่น การประกอบอาหารปิ้งย่าง การจุดธูปไหว้พระ การเผากระดาษ การสูบบุหรี่ เป็นต้น
ผลกระทบของ PM 2.5 ต่อสุขภาพ
- ผิวหนังและตา
- ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง ผื่นคัน
- ทำให้ระคายเคืองตา แสบตา ตาอักเสบ ตาแดง
- เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ก่อนวัยอันควร
- ระบบการหายใจ
- ทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุจมูก และแสบจมูก เลือดกำเดาไหล
- ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้กำเริบ
- ก่อให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบได้
- ก่อให้เกิดโรคหอบหืด
- ก่อให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง
- ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด
- ระบบหลอดเลือดและหัวใจ
- ทำให้ผนังหลอดเลือดอักเสบ
- ความดันโลหิตสูง
- กล้ามเนื้อหัวใจตาย
- เส้นเลือดในสมองตีบ
- เส้นเลือดหัวใจตีบ
พื้นที่เสี่ยงสูงของฝุ่น PM.2.5
พื้นที่เสี่ยงสูงที่มีฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ จากการรายงานของ Air 4Thai เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566 เวลา 20.00 น.
- ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ PM2.5 219 ไมโครกรัมต่อตารางเมตร
- ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน PM 2.5 181 ไมโครกรัมต่อตารางเมตร
- ต.เวียง อ.เชียงของ จ.เชียงราย PM 2.5 147 ไมโครกรัมต่อตารางเมตร
- ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย PM 2.5 139 ไมโครกรัมต่อตารางเมตร
- ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย PM 2.5 120 ไมโครกรัมต่อตารางเมตร
- ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน PM 2.5 103 ไมโครกรัมต่อตารางเมตร
- ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา PM 2.5 102 ไมโครกรัมต่อตารางเมตร
- ต.ในเมือง อ.เมือง จ.น่าน PM 2.5 92 ไมโครกรัมต่อตารางเมตร
- ต.หางดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ PM 2.5 92 ไมโครกรัมต่อตารางเมตร
การป้องกันฝุ่น PM 2.5
- สวมหน้ากาก
- สวมใส่หน้ากากเพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5 โดยสวมหน้าชนิดที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5ได้ เช่น N 95 กรองอนุภาคขนาดเล็กได้ 95% N99 กรองอนุภาคขนาดเล็กได้ 99% เป็นต้น โดยสวมใส่ให้ถูกต้องตามวิธี
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน
- งดการออกกำลังกายกลางแจ้งช่วงที่มีฝุ่นปริมาณมาก จะทำให้เราหายใจเอาฝุ่นเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก การเดินเล่นในสวนสาธารณะ
- อยู่ในอาคารที่ปิดมิดชิดในสถานการณ์ที่ฝุ่นมีปริมาณสูง
- ใช้เครื่องปรับอากาศในอาคารที่ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด
- ใช้เครื่องฟอกอากาศภายในห้อง
- งดสูบบุหรี่และกิจกรรมที่ก่อให้เกิดควัน
- การสูบบุหรี่หรือสูดกลิ่นควัน อาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจเพิ่มเติมจาก PM 2.5 และยังก่อให้เกิดฝุ่นเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ฝุ่น PM 2.5 ภัยเงียบที่ทุกคนต้องเผชิญในปัจจุบัน สถานการณ์แย่ลงทุกวัน ดังนั้นเราทุกคนควรร่วมมือ ร่วมใจลด PM 2.5 ไม่ให้เพิ่มขึ้นได้ง่าย ๆ ด้วย 2 มือเรา โดยลดการเผาในที่โล่งแจ้ง เพื่อลดฝุ่นควัน เพื่ออากาศอันบริสุทธิ์และสุขภาพที่ดีต่อตนเองและคนรอบข้าง
Reference:
- โรงพยาบาลเปาโล. (2566). PM 2.5 ฝุ่นละอองร้ายในอากาศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2566, จาก https://bit.ly/3zp4I1w
- โรงพยาบาลสมิติเวช. (2562). PM 2.5ฝุ่นละอองจิ๋ว แต่ส่งผลเสีย(ต่อสุขภาพ) มหาศาล. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2566, จาก https://bit.ly/3zsHNSX
- Air4Thai. (2566). ดัชนีวัดคุณภาพอากาศ (AQI). สืบค้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566, จาก https://bit.ly/3nKTYYv