วัยทำงานหลาย ๆ คนที่ใช้ประกันสังคม จะรู้จักกันดีสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 8 สิทธิประโยชน์สำคัญ ๆ ที่ลูกจ้างประกันสังคมต้องรู้ ! หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 ลาออกจากงาน “ประกันสังคมมาตรา 39” ได้สิทธิอะไรได้บ้าง ? วันนี้ วิชาการ จะมาแนะนำอีกมาตราหนึ่ง นั้นก็คือ “ผู้ประกันตนมาตรา 40” หรือ “ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ “คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบ ที่ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ไปดูกันได้เลย
ใครสามารถสมัครประกันสังคมมาตรา 40 ได้บ้าง ?
- ผู้มีสัญชาติไทย หรือบุคคลที่ได้รับอนุญาต
- อายุไม่น้อยกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
- ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39
- ต้องไม่เป็นสมาชิกกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
เงื่อนไขความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 40
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
-
- ความคุ้มครองและเงื่อนไข
- ชำระเงินสมทบมาแล้ว 3 เดือน ภายใน 4 ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- เป็นผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 300 บาทต่อวัน
- แพทย์สั่งให้หยุดพักรักษาตัว ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 200 บาทต่อวัน
- ภายใน 1 ปี นอนและไม่นอนโรงพยาบาล จะได้รับเงินทดแทนไม่เกิน 30 วัน (กรณีสมทบ 70 และ 100 บาทต่อเดือน) และ 90 วัน (กรณีสมทบ 300 บาทต่อเดือน)
- ผู้ป่วยนอกและแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อสํานักงาน) รับเงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละ 50 บาท (กรณีสมทบ 70 และ 100 บาทต่อเดือน) แต่ผู้ประกันตนจะไม่ได้รับความคุ้มครองในกรณีนี้ หากสมทบ 300 บาทต่อเดือน
- ความคุ้มครองและเงื่อนไข
กรณีทุพพลภาพ
-
- ความคุ้มครองและเงื่อนไข
- การรับเงินทดแทนการขาดรายได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผู้ประกันตนชำระเงินสมทบก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ
- จ่ายเงินสมทบ 6 ใน 10 เดือน ได้รับ 500 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบ 12 ใน 20 เดือน ได้รับ 650 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 40 เดือน ได้รับ 800 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบ 36 ใน 60 เดือน ได้รับ 1,000 บาท/ต่อเดือน
- รับเงินทดแทนเป็นระยะเวลา 15 ปี หากสมทบ 70 และ 100 บาทต่อเดือน แต่ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนตลอดชีวิตกรณีสมทบ 300 บาทต่อเดือน
- หากเสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนได้รับเงินค่าทําศพ 20,000 บาท (กรณีสมทบ 70 และ 100 บาทต่อเดือน) และได้รับ 40,000 บาท (กรณีสมทบ 300 บาทต่อเดือน)
- การรับเงินทดแทนการขาดรายได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผู้ประกันตนชำระเงินสมทบก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ
- ความคุ้มครองและเงื่อนไข
กรณีเสียชีวิต
-
- ความคุ้มครองและเงื่อนไข
- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 ใน 12 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย ยกเว้น กรณีอุบัติเหตุ หากส่งเงินสมทบ ไม่ครบ 6 ใน 12 เดือน แต่มีการส่งเงินสมทบ 1 ใน 6 เดือน ก่อนเดือนที่เสียชีวืต
- ได้รับเงินค่าทําศพ 20,000 บาท (กรณีสมทบ 70 และ 100 บาท ต่อเดือน) และได้รับ 40,000 บาท (กรณีสมทบ 300 บาทต่อเดือน)
- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย ได้รับเงินสงเคราะห์เพิ่ม 3,000 บาท (กรณีสมทบ 70 และ 100 บาท) แต่ผู้ประกันตนจะไม่ได้รับความคุ้มครองในกรณีนี้หาก สมทบ 300 บาทต่อเดือน
- ความคุ้มครองและเงื่อนไข
กรณีชราภาพ
-
- ความคุ้มครองและเงื่อนไข
- เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์จะได้รับเงินบำเหน็จตามจำนวนที่สมทบและผลประโยชน์ ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ และสามารถสมทบเพิ่มเติม (เงินออม) ได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท
- ความคุ้มครองและเงื่อนไข
กรณีสงเคราะห์บุตร
-
- ความคุ้มครองและเงื่อนไข
- ผู้ประกันตนต้องสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 24 เดือน ภายใน 36 เดือน
- ต้องชำระเงินสมทบทุกเดือนระหว่างรับเงินสงเคราะห์ จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน บุตรอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 2 คน เป็นจำนวน 200 ต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคน (กรณีสมทบ 300 บาทต่อเดือน)
- ความคุ้มครองและเงื่อนไข
ดังนั้นหากใครที่ยังมองหาหลักประกันสุขภาพสำหรับอาชีพอิสระ ประกันสังคมมาตรา 40 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้เราสามารถเข้าถึงการบริการสุขภาพ และสิทธิประโยชน์อีกมากมาย หากเราสามารถเข้าเงื่อนไขและมีคุณสมบัติตามที่มาตรา 40 กำหนดไว้
Reference:
- สำนักงานประกันสังคม. (2562). คู่มือผู้ประกันตน. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566, จาก https://bit.ly/3ovKC3D
- PPTVHD36. (2565). เช็กสิทธิผู้ประกันตน ม.40 จ่ายเงินสมทบแล้ว คุ้มครองอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566, จาก https://bit.ly/3NGkiMR
- ไทยรัฐ. (2566). ประกันสังคมมาตรา 40 เงื่อนไข และการสมัคร จ่ายเท่าไร ได้คืนตอนไหน. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566, จาก https://bit.ly/3XEn49T