ได้มีการประกาศปรับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเป็นที่เรียบร้อย คาดว่าผู้ใช้แรงงานทุกคนคงจะดีใจกันไม่น้อย แต่ค่าแรงขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดนั้นไม่เท่ากัน ในบทความนี้ วิชาการ จะพาไปดูค่าแรงขั้นต่ำปี 2567 ของแต่ละจังหวัดกันว่าเท่าไหร่กันบ้าง
รวมอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 2567 แต่ละจังหวัด เท่าไหร่บ้าง ?
อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 2567 ทั้ง 77 จังหวัด
คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำสูงสุดอยู่ที่ 370 บาท และต่ำสุดอยู่ที่ 330 บาท ซึ่งเป็น 17 อัตรา โดยปรับขึ้นประมาณ 2-16 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.37% ดังนี้
1. ค่าแรงขั้นต่ำ 330 บาท 3 จังหวัด
- นราธิวาส
- ปัตตานี
- ยะลา
2. ค่าแรงขั้นต่ำ 338 บาท 4 จังหวัด
- ตรัง
- น่าน
- พะเยา
- แพร่
3. ค่าแรงขั้นต่ำ 340 บาท 16 จังหวัด
- ระนอง
- สตูล
- เลย
- พิจิตร
- ลำปาง
- อุดรธานี
- ศรีสะเกษ
- สุโขทัย
- ราชบุรี
- อำนาจเจริญ
- แม่ฮ่องสอน
- อุตรดิตถ์
- มหาสารคาม
- อุทัยธานี
- กำแพงเพชร
- หนองบัวลำภู
4. ค่าแรงขั้นต่ำ 341 บาท 5 จังหวัด
- ชัยนาท
- สิงห์บุรี
- พัทลุง
- ชัยภูมิ
- อ่างทอง
5. ค่าแรงขั้นต่ำ 342 บาท 5 จังหวัด
- นครศรีธรรมราช
- บึงกาฬ
- กาฬสินธุ์
- ร้อยเอ็ด
- เพชรบูรณ์
6. ค่าแรงขั้นต่ำ 343 บาท 3 จังหวัด
- ยโสธร
- ลำพูน
- นครสวรรค์
7. ค่าแรงขั้นต่ำ 344 บาท 3 จังหวัด
- เพชรบุรี
- ชุมพร
- สุรินทร์
8. ค่าแรงขั้นต่ำ 345 บาท 15 จังหวัด
- กาญจนบุรี
- ประจวบคีรีขันธ์
- พังงา
- สงขลา
- สุราษฎร์ธานี
- จันทบุรี
- สระแก้ว
- นครพนม
- มุกดาหาร
- สกลนคร
- บุรีรัมย์
- อุบลราชธานี
- เชียงราย
- ตาก
- พิษณุโลก
9. ค่าแรงขั้นต่ำ 347 บาท 2 จังหวัด
- กระบี่
- ตราด
10. ค่าแรงขั้นต่ำ 348 บาท 3 จังหวัด
- สุพรรณบุรี
- นครนายก
- หนองคาย
11. ค่าแรงขั้นต่ำ 349 บาท 1 จังหวัด
- ลพบุรี
12. ค่าแรงขั้นต่ำ 350 บาท 6 จังหวัด
- พระนครศรีอยุธยา
- สระบุรี
- ฉะเชิงเทรา
- ปราจีนบุรี
- ขอนแก่น
- เชียงใหม่
13. ค่าแรงขั้นต่ำ 351 บาท 1 จังหวัด
- สมุทรสงคราม
14. ค่าแรงขั้นต่ำ 352 บาท 1 จังหวัด
- นครราชสีมา
15. ค่าแรงขั้นต่ำ 361 บาท 2 จังหวัด
- ชลบุรี
- ระยอง
16. ค่าแรงขั้นต่ำ 363 บาท 6 จังหวัด
- กรุงเทพมหานคร
- นครปฐม
- นนทบุรี
- ปทุมธานี
- สมุทรปราการ
- สมุทรสาคร
17. ค่าแรงขั้นต่ำ 370 บาท 1 จังหวัด
- ภูเก็ต
เกณฑ์การพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำมีอะไรบ้าง ?
หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วหลักเกณฑ์ขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำของแต่ละจากวัดมาจากอะไร ซึ่งโดยทั่วไปจะพิจารณาจาก 3 อย่าง ดังนี้
- ความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง : ได้แก่ ค่าครองชีพ ค่าจ้าง ค่าราคาสินค้าต่าง ๆ และเงินเฟ้อ
- ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง : เช่น ต้นทุนการผลิต ความสามารถของธุรกิจ เป็นต้น
- เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม : เช่น ตัวเลข GDP GPP สภาพเศรษฐกิจสังคมของแต่ละจังหวัด เป็นต้น
การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำถือเป็นข่าวดีของคนใช้แรงงานและลูกจ้างในประเทศไทย เพื่อที่จะได้มีเงินไว้จับจ่ายใช้สอยได้มากขึ้น เพราะของกินของใช้หลายอย่างก็ปรับราคาขึ้นมาสักพักแล้วเช่นกัน นับว่าเป็นเรื่องดีในต้นปีของประเทศไทยเลยทีเดียว