โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการตายก่อนวัยอันควรของคนไทยในปี 2560 โดยความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยสำคัญ การรักษาระดับความดันให้ปกติจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ความดัน 140 สูงไหม
ความดันโลหิต คือ แรงดันเลือดที่หัวใจสูบฉีดเลือกไปใช้เลี้ยงทั่วร่างกาย โดยมีตัวเลขสองตัว คือค่าบนและค่าล่าง
- ค่าบน ใช้วัดแรงดันให้ขณะที่หัวใจบีบตัวเต็มที่
- ถ้าสูงกว่า 120 คือ ความดันโลหิตค่อนข้างสูง
- ถ้าสูงกว่า 140 คือ ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย ระยะที่ 1
- ถ้าสูงกว่า 160 คือ ความดันโลหิตสูงปานกลาง ระยะที่ 2
- ถ้าสูงกว่า 180 คือ ความดันโลหิตสูงมาก ระยะที่ 3
- ค่าล่าง ใช้วัดแรงดันเมื่อหัวใจคลายตัวเต็มที่
- ถ้าสูงกว่า 85 คือ ความดันโลหิตค่อนข้างสูง
- ถ้าสูงกว่า 90 คือ ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย ระยะที่ 1
- ถ้าสูงกว่า 100 คือ ความดันโลหิตสูงปานกลาง ระยะที่ 2
- ถ้าสูงกว่า 110 คือ ความดันโลหิตสูงมาก ระยะที่ 3
- ความดันที่ปกติ จะอยู่ 120/80 หรือต่ำกว่านั้น
- ความดันโลหิตสูง จะอยู่ที่ 140/90 ขึ้นไป
วัดให้มั่นใจ นั่งให้ถูกท่า
การวัดความดันโลหิตหลังออกกำลังกายมักทำให้ได้ความดันโลหิตที่สูงเกินจริงนั้น รวมถึงท่านั่ง อาหาร และความกังวลต่างๆ ซึ่งมีวิธีวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง ตามแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562 ว่า
- ไม่ควรดื่มชา หรือกาแฟ และไม่สูบบุหรี่ก่อนความดันโลหิตอย่างน้อย 30 นาที
- ถ้ามีอาการปวดปัสสาวะ ควรไปปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อน
- ควรนั่งพักบนเก้าอี้ในห้องเงียบสงบเป็นเวลา 5 นาที หลังพิงพนักไม่ต้องเกร็งหลัง
- ห้ามนั่งไหว่ข้าง ไม่ควรพูดคุยก่อนหน้าและขณะวัดความดันโลหิต
- วางแขนซ้ายหรือขวาที่จะใช้วัดความดันโลหิตอยู่บนโต๊ะเรียบ
- บริเวณที่จะวาง arm cuff ให้อยู่ระดับเดียวกับหัวใจ
- ไม่เกร็งแขนในขณะวัดความดัน
ความดันโลหิตสูงเกิน 140 ต้องรู้อะไรบ้าง อันตรายไหม
การตรวจพบว่าความดันโลหิตสูงได้ไวเท่าไหร่ ยิ่งดีกับคุณมากเท่านั้น เพราะว่าในระยะแรกของการมีความดันโลหิตสูงนั้น มักจะไม่แสดงอาการ จึงเป็นภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว การที่มีความดันโลหิตสูงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น
- โรคหัวใจ
- หัวใจล้มเหลว
- ภาวะสโตรก หรือ โรคหลอดเลือดสมองอักเสบ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำคัญมาก
การรักษาความดันโลหิตสูงนั้น เริ่มต้นง่ายมากๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นลดเค็ม ควบคุมน้ำหนัก เลิกสูบบุหรี่ ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ลดน้ำหนัก
- ควรพยายามคุมค่าดัชนีมวลกายให้อยู่ในช่วง 18.5-22.9 กก./ตรม.
- เส้นรอบเอว ผู้ชายไม่เกิน 36 นิ้ว และผู้หญิงไม่กิน 32 นิ้ว หรือไม่เกินส่วนสูงหารสอง
- ปรับอาหาร
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ใช้สูตร 2:1:1 ตามแนวทางของกรมอนามัย คือ 2 ส่วนเป็นผัก 2 อย่าง, 1 ส่วนเป็นข้าวหรือแป้ง, 1 ส่วนเป็นโปรตีน เช่นเนื้อสัตว์ไม่ติดมันหรือเนื้อปลา
- ทานผักผลไม้ในประมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รับ โพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม และใยอาหาร ซึ่งมีส่วนช่วยลดความดันโลหิต
- ไม่แนะนำให้ทานอาหารเสริมเป็นโพแทสเซียม แมกนีเซียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
- หลีกเลี่ยงอาหารเสริม หรือสมุนไพรที่อาจเพิ่มความดัน เช่น มาฮวง ชะเอมเทศ ชะเอม ส้มขม โยฮิมบี
- คุมปริมาณเกลือและโซเดียม
- องค์การอนามัยโลกระบุปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมอยู่ที่ไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน
- แค่ทาน น้ำปลาหรือซีอิ๊วขาว 3-4 ช้อนชา ก็คือ โซเดียม 2 กรัม แล้ว
- ยิ่งเข้มงวด ก็อาจช่วยลดความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้น
- ออกกำลังกาย สม่ำเสมอ
- ออกกำลังกายแบบแอโรบิก อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
- ทั้งนี้ควรระวังอัตราการเต้นของหัวใจด้วย
- ลด หรืองดเหล้า เบียร์ แอลกอฮอล์
- เลิกบุหรี่
- ถึงแม้ไม่ได้มีผลต่อความดันโลหิตโดยตรง แต่ก็ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอกเลือดได้
นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว การปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาลดความดันก็ช่วยลดระดับความดันโลหิตลง ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ