โรคฝีดาษลิง ! โรคติดเชื้อไวรัส หากรุนแรงถึงตายได้ 2023

          สถานการณ์โรคฝีดาษลิงตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565-เมษายน 2566 พบผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ส่วนในระยะหลังจากนี้เริ่มพบผู้ป่วยในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และมีรายงานคนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้เป็นรายแรกแล้ว โดยมีพื้นที่การระบาดคือ “กรุงเทพมหานคร, ชลบุรี, นนทบุรี และสมุทรปราการ”

           ซึ่งคนปกติทั่วไปจะมีความเสี่ยงในการติดโรคน้อย ส่วนใหญ่มักพบการติดเชื้อกับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยง ปัจจุบันมีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อที่อยู่ในกลุ่มเยาวชนที่มีอายุน้อยลง วิชาการ จึงนำสาระความรู้และสถานการณ์การติดเชื้อโรคฝีดาษลิงในปัจจุบันมาให้ทุกท่านได้อ่านกัน

“โรคฝีดาษลิง” คืออะไร ?

           โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) คือ โรคติดต่อที่สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนและติดจากคนสู่คนได้ เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxiridae ซึ่งอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เช่นเดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดฝีดาษในคนหรือไข้ทรพิษและฝีดาษวัว ซึ่งเชื้อไวรัสในฝีดาษลิง สามารถพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก, หนูป่า เป็นต้น

“โรคฝีดาษลิง” รักษาอย่างไร ?

          ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคฝีดาษลิงเฉพาะ ทำได้เพียงการให้วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ ซึ่งผลการรักษาจะมีประสิทธิภาพเพียง 85% รวมทั้งการให้ยาต้านไวรัส ได้แก่        Cidofovir, Tecovirimat และ Brincidofovir

วิธีการรักษาแบบประคับประคองอาการ

  • ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
  • ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน
  • ดูแลผิวหนังที่ติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการแกะ / เกาแผล
  • บริเวณที่เป็นผื่น ต้องมีการระบายอากาศ เพื่อไม่ให้ผิวหนังอับชื้น
  • ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ เมื่อสัมผัสผื่น
  • ทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า

“ฝีดาษ” และ “ฝีดาษลิง” แตกต่างกันอย่างไร ?

          โรคไข้ฝีดาษลิงหรือไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เกิดจากไวรัส Othopoxvirus “เป็นการติดต่อจากลิงสู่คน” ที่นับว่ามีอันตราย

           ส่วนโรคไข้ทรพิษหรือโรคฝีดาษ (Smallpox) เป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นจากเชื้อ ไวรัสวาริโอลา โดยเชื้อไข้ทรพิษนี้จะ”ติดต่อกันแบบคนสู่คนผ่านระบบทางเดินหายใจเพียงอย่างเดียว” โดยผ่านการไอและจาม ทำให้เชื้อสามารถแพร่ผ่านละอองฝอยของสารคัดหลั่งได้ นอกจากนี้หลังการติดเชื้อผิวหนังจะแห้งตกสะเก็ด และหลุดจนหมด เมื่อหายแล้วจะกลายเป็นรอยแผลเป็นทิ้งไว้ หากมีการติดเชื้อแล้ว จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าฝีดาษลิง หากสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ได้รับเชื้อฝีดาษ อาจส่งผลถึงขั้นแท้งบุตรในครรภ์ได้

“โรคฝีดาษลิง” เป็นแล้วหายได้เองไหม ?

         

            โรคฝีดาษลิงเมื่อเป็นแล้วสามารถหายจากโรคได้เอง โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ และมียาต้านไวรัสในกลุ่มของฝีดาษคนและฝีดาษลิงที่สามารถรักษาโรคได้ โดยแพทย์เฉพาะทางจะพิจารณาจากอาการเป็นหลัก โดยเฉพาะ อาการมีไข้พร้อมกับตุ่มน้ำใส คือสัญญาณชัดเจนของโรคฝีดาษลิง โดยจะทำการ

  1. ตรวจหาสารพันธุกรรม Real – Time PCR โดยระยะเวลาการตรวจอยู่ที่ 24 – 48 ชั่วโมง
  2. รตรวจลำดับนิวคลิโอไทด์ด้วยเทคนิค DNA Sequencing ที่ใช้ระยะเวลาการตรวจ 4 – 7 วัน

สถานการณ์ “โรคฝีดาษลิง” ในประเทศไทย

           ข้อมูลเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 มีรายงานผู้ป่วยรวม 316 ราย เสียชีวิต 1 ราย (เป็นผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง)

  • พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อ : 
    • กรุงเทพมหานคร 198 ราย
    • จังหวัดชลบุรี 22 ราย
    • จังหวัดนนทบุรี 17 ราย
    • จังหวัดสมุทรปราการ 12 ราย
  • ประเภทของผู้ติดเชื้อ :
    • กลุ่มผู้ป่วยที่พบเป็นกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย 271 ราย
    • มีผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี 143 ราย
  • สัญชาติของผู้ติดเชื้อ :
    • เป็นผู้ป่วยมีสัญชาติไทย 277 ราย
    • ต่างชาติ 36 ราย
    • ไม่ระบุ 3 ราย
  • ช่วงอายุของผู้ติดเชื้อ :
    • ติดเชื้อมากที่สุด คือ อายุ 30-39 ปี
    • รองลงมา คือ อายุ 20-29 ปี 
    • และเยาวชนอายุ 15-24 ปี

                   ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยล่าสุดได้พบผู้ป่วยที่มีอายุน้อยสุดที่ติดเชื้อเป็น นักเรียนชายอายุ 16 ปี เริ่มป่วยวันที่ 6 สิงหาคม 2566 เข้ารับการรักษา วันที่ 14 สิงหาคม 2566 ด้วยอาการตุ่มน้ำใสขึ้นตามร่างกายร่วมกับอวัยวะเพศบวมอักเสบ ตรวจพบเชื้อฝีดาษลิง โดยมีประวัติเสี่ยงคือการมีเพศสัมพันธ์กับหลายคน

          เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงมีการติดเชื้อสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนกลุ่มชายรักชาย ให้ระวังการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสใกล้ชิด แนบชิด การกอด จูบ กับบุคคลที่ไม่รู้จักและไม่ทราบว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ เพื่อลดการระบาดของโรค วิชาการ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านในการป้องกันและระวังไม่ให้เกิดการติดเชื้อฝีดาษลิง

 

 

Reference:

  • กรมควบคุมโรค.  (2565).  กรมควบคุมโรค เผยโรคฝีดาษลิงติดจากสัตว์สู่คนได้แม้มีโอกาสติดน้อย แต่ต้องเฝ้าระวัง พร้อมแนะวิธีป้องกัน.  สืบค้นเมื่อวันที่ 07 กันยายน 2566, จาก https://9va6.short.gy/227Bao
  • ไทยรัฐ.  (2566).  “ฝีดาษลิง” วิกฤติ มีนร.ชายติด 16 ยอดเดือนส.ค.พุ่ง 145 เตือนเพศสัมพันธ์มั่ว.  สืบค้นเมื่อวันที่ 07 กันยายน 2566, จาก https://9va6.short.gy/lwS2at
  • ThaiPBS.  (2566).  น่าห่วง! “ฝีดาษลิง” ส.ค.นี้เพิ่มอีก 145 คนต่ำสุดชายอายุ 16 ปี.  สืบค้นเมื่อวันที่ 07 กันยายน 2566, จาก https://9va6.short.gy/4Zb1gX

วิชาการ
Logo
Enable registration in settings - general