การบลูลี่ เนื้อร้ายที่ไม่ควรมีในสังคมไทย พร้อมวิธีรับมือ

       

          เรามักจะได้ยินตามพาดหัวข่าวเกี่ยวกับการบลูลี่แทบจะทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นในโรงเรียน หรือที่ทำงาน จนหลายครั้งเป็นสาเหตุให้เหยื่อที่ถูกบลูลี่ถึงกับคิดสั้นจบชีวิตเลยทีเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้า และไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น วันนี้ วิชาการ จึงอยากพาทุกท่านมาทำความเข้าใจว่าการบลูลี่คืออะไร แล้วจะป้องกันหรือรับมือได้อย่างไร?


การบลูลี่คืออะไร?

          การบลูลี่ (Bully) คือ การรังแกหรือกลั่นแกล้งไม่ว่าจะเป็นทั้งทางคำพูดหรือการกระทำ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ผู้มีกำลังหรืออำนาจมากข่มขู่หรือแสดงอำนาจต่อผู้มีกำลังหรืออำนาจน้อยกว่า การบลูลี่พบมากในโรงเรียนและที่ทำงาน ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทางจิตที่มีความรุนแรง

การบลูลี่มีกี่ประเภท?

          การกลั่นแกล้งด้วยคำพูด (Verbal Bullying) เช่น การเรียกชื่อต่าง ๆ, ล้อเล่นด้วยวาจา, การดูถูกผู้อื่นด้วยวาจา, ใช้วาจาข่มขู่ว่าจะทำร้ายผู้อื่น
การกลั่นแกล้งทางสังคม (Social Bullying) เช่น การโกหก, แพร่ข่าวลือ, หยอกล้อที่รุนแรง, ทำให้อับอายในที่สาธารณะ
การกลั่นแกล้งด้วยการกระทำ (Physical Bullying) เช่น การตี, เตะ, ต่อย, ผลัก, จิ่ม และ แทงผู้อื่น หรือ การทำลายสิ่งของผู้อื่น และการแสดงกิริยาหยาบคาย ล้วนแล้วถือเป็นการบลูลี่ทั้งสิ้น
          การกลั่นแกล้งผ่านสื่อออนไลน์ (Cyber bullying) คือ การใช้ช่องทางสื่อสารไม่ว่าจะเป็น การส่งข้อความ, การโทรหา หรือใช้โซเชียลมีเดียในการรังแกผู้อื่น ด้วยการส่งข้อความ, ภาพ หรือวิดีโอ ที่มุ่งทำร้ายผู้อื่น

ภาพถ่ายฟรีของ ขวักไขว่

 

ทำไมถึงมีการบลูลี่ผู้อื่น?

  • ผู้ที่บลูลี่ผู้อื่นต้องการแสดงอำนาจเพื่อให้เป็นที่เกรงขามในสังคม
  • ไม่เห็นคุณค่าในตนเองและใช้การบลูลี่ผู้อื่นเพื่อทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
  • มีความคิดว่าพฤติกรรมการบลูลี่ผู้อื่นที่ตนกระทำไม่เป็นปัญหา
  • ใช้การบลูลี่ในการปลอดปล่อยอารมณ์โกรธ หงุดหงิด และอิจฉาของตน
  • มีปัญหาในการเข้าสังคม
  • เคยเป็นผู้ถูกบลูลี่มาก่อน

ลักษณะของผู้ที่ถูกบลูลี่?

  • เก็บตัวเงียบและดูมีความลับ
  • อ่อนไหวต่อสถานการณ์รอบตัว, ร้องไห้, หรือแสดงอาการโกรธ
  • นอนไม่หลับ
  • มีร่องรอยการถูกทำลายตามร่างกายเช่น รอยช้ำ, แผล หรือรอยถลอก
  • กลายเป็นคนเก็บตัว และไม่สนใจหรือไม่อยากเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ
  • มีอาการเจ็บปวดตามร่างกาย เช่น ปวดหัว หรือปวดท้อง
  • ได้รับข้อความทางโซเชียลมากกว่าปกติ

ภาพถ่ายฟรีของ ขวักไขว่


ผลกระทบทางจิตใจของผู้ที่ถูกบลูลี่?

  • รู้สึกผิด เพราะคิดว่าเป็นความผิดของตนเอง
  • รู้สึกสิ้นหวัง เพราะไม่รู้ว่าจะแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างไร
  • รู้สึกโดดเดี่ยว และขาดคนช่วยเหลือ
  • เป็นโรคซึมเศร้า
  • รู้สึกไม่ปลอดภัยและหวาดระแวง
  • ซับซนและเครียด
  • รู้สึกอับอายที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับตนเอง
    วิธีรับมือกับการถูกบลูลี่

หากเราคือคนที่ถูกบลูลี่ เราสามารถใช้วิธีการด้านล่างในการช่วยแก้ไขสถานการณ์

  • พูดคุยกับคนที่ไว้ใจได้
  • พาคนที่ไว้ใจได้ไปขอความช่วยเหลือ หรือพาไปพูดคุยกับคนที่เป็นผู้บลูลี่
  • ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการบลูลี่ในองค์กร หรือ หน่วยงานที่รัฐจัดบริการให้
  • หากคุณมั่นใจและรู้สึกปลอดภัยพอที่จะพูดคุยกับคนที่บลูลี่คุณ คุณสามารถแจ้งสาเหตุว่าทำไมการกระทำดังกล่าวจึงไม่โอเค

ในกรณีที่ผู้ถูกบลูลี่เป็นลูกหรือเด็กที่อยู่ในความดูแลของเรา เราสามารถใช้วิธีดังต่อไปนี้ช่วยคลี่คลายเหตุการณ์
ช่วยลูกในการหาทางแก้ไขปัญหา

  • ให้ความมั่นใจกับลูกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช้ความผิดของเขา
  • พูดคุยให้ลูกเข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
  • แจ้งให้ลูกรู้ว่าคุณจะแจ้งทางโรงเรียนเกี่ยวกับการบลูลี่ครั้งนี้


หากการบลูลี่ลุกลามกลายเป็นความรุนแรงหรือมีอันตรายร้ายแรงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องหรือพบเห็นจะต้องแจ้งตำรวจ
หากท่านมีอาการวิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า และต้องการคำแนะนำ สามารถติดต่อสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรืออ่านรายละเอียดที่ Facebook page: https://bit.ly/3Jsx9lk

Reference:

  • Healthdirect.  (2566).  Bullying.  สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566, จาก https://bit.ly/40bYiyT
  • Stopbullying.gov.  (2566).  How to Prevent Bullying.  สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566, จาก https://bit.ly/3HHgER1
  • ไทยรัฐ.  (2564).  บูลลี่ (Bully) คืออะไร มีกี่ประเภท วิธีที่จะรับมือจากการโดนบูลลี่.  สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566, จาก https://bit.ly/3RjBMQx








วิชาการ
Logo
Enable registration in settings - general