ในปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุค AI อย่างเป็นทางการ ซึ่งองค์กรต่าง ๆ ได้คิดค้นและสร้างปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถในการช่วยเหลือมนุษย์มาแข่งขันกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งทาง Google เองก็เช่นกัน เพราะได้พัฒนาและรีแบรนด์ Bard AI เปลี่ยนเป็น Gemini ในบทความนี้ วิชาการ จะพาไปดูกันว่ามีอะไรเด็ดบ้าง มีข้อจำกัดอะไร พร้อมกับแนวโน้มในอนาคต
Google AI อัปเดต “Bard” เป็น Gemini มาดูกันว่ามีอะไรเด็ด!
Gemini คืออะไร ?
Gemini คือแชตบอตโมเดลภาษาขนาดใหญ่จาก Google AI ที่ได้รับการรีแบรนด์และพัฒนามาจาก Bard สามารถใช้งานได้ง่าย ๆ ผ่านมือถือ ในระบบ Android
- ส่วน IOS จะเป็นการเข้าผ่านเว็บไซต์ https://gemini.google.com/
Gemini มีอะไรเด็ด ?
ข้างต้นเป็นคลิปแนะนำ Gemini ที่ทาง Google ได้ปล่อยออกมา ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง และทาง วิชาการ สรุปประเด็นเด็ดที่น่าสนใจของ Gemini ได้ดังนี้
- สามารถเข้าถึงและประมวลผลข้อมูลจากโลกแห่งความเป็นจริงผ่าน Google Search
- วิเคราะห์ข้อมูล สรุปประเด็น ตอบคำถามได้อย่างตรงประเด็น เช่น สรุปประเด็นจากอีเมล, เขียนแคปชันให้กับรูปภาพ, เขียนโค้ด ฯลฯ
- สามารถสั่งงานด้วยการพิมพ์หรือเสียงได้
- มี Generative AI ตัวช่วยวาดภาพ
- สามารถใช้งานได้ฟรี แต่หากใครอยากใช้งานแบบเหนือชั้นก็ทำได้ ซึ่งมีค่าบริการอยู่ที่ 19.99 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 720 บาท ต่อเดือน แต่ตอนนี้สามารถทดลองใช้ได้ฟรี 2 เดือน
- เปิดให้ใช้กว่า 230 ประเทศทั่วโลก
- รองรับได้มากถึง 40 ภาษา
Gemini มีข้อจำกัดอะไรบ้าง ?
- การสร้างภาพจาก AI พิมพ์เป็นภาษาไทยไม่ได้ ต้องใช้ภาษาอังกฤษแทน
- อัปโหลดไฟล์ PDFs เพื่อให้สรุปหรือวิเคราะห์ข้อมูลยังไม่ได้
- ยังไม่สามารถตั้งค่าลักษณะของ Bot ได้ เช่น Description, Instruction เป็นต้น
- ยังไม่มีตัวบ่งบอกความยาวของข้อความที่สามารถใช้งานได้ หรือที่เรียกว่า “Token limits”
Gemini กับแนวโน้มในอนาคต
- มีการประมวลผล และความสามารถในการเรียนรู้มากขึ้น
- จะได้รับการพัฒนามาเพื่อใช้งานเฉพาะในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา การวิจัย ธุรกิจ
- ช่วยให้มนุษย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- จะมีการพัฒนาอย่างมีความรับผิดชอบ คำนึงถึงเรื่องจริยธรรม การละเมิดลิขสิทธิ์ และป้องกันการใช้งานในทางที่ผิด
อัปเดตกันไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับ Gemini โมเดลภาษาปัญญาประดิษฐ์ที่ได้รับการพัฒนามาจาก Google ซึ่งถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย และเป็นประโยชน์ต่อการเรียนและการทำงานของมนุษย์ ท้ายสุดทาง วิชาการ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้องการอัปเดตเทคโนโลยีใหม่ ๆ กันนะคะ