แนะ 6 วิธี สร้าง Portfolio อย่างไรให้ติดชัวร์ ไปดูกัน

          Portfolio สำหรับผู้ที่ต้องการยื่นเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย สามารถเตรียมตัวได้ก่อนเป็นระยะเวลานาน มิใช่สามารถทำได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ต้องมีการสะสมผลงานไว้เป็นระยะเวลานาน 2-3 ปีกันเลยทีเดียว โดยสามารถสะสมผลงานไว้ได้เรื่อย ๆ โดยเฉพาะผลงานที่มีความเกี่ยวข้องกับคณะ สาขาที่ต้องการเข้าศึกษา หมั่นเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ บทความนี้ วิชาการ มีวิธีการเตรียมตัวทำ Portfolio มาให้น้อง ๆ ได้อ่านกัน

  1. วางแผนเลือกคณะหรือสาขาวิชาที่จะศึกษาต่อ

    • วางแผนเลือกวิชาที่ต้องการจะศึกษาไว้ล่วงหน้าว่าต้องการศึกษาในสาขาวิชาใด เพื่อให้ทราบว่าตัวเองอยากประกอบอาชีพไหนในอนาคต และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนทำ Portfolio ต่อไป เช่น
      • วิทยาศาสตร์
      • วิศวกรรมศาสตร์
      • ศิลปกรรมศาสตร์
      • มนุษยศาสตร์
  2. เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

              เมื่อทราบแล้วว่าตัวเองอยากเรียนสาขา หรือวิชาอะไร ให้หากิจกรรมเพื่อเข้าร่วม เช่น
      • การเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่จัดขึ้น
      • การแข่งขันวิชาการที่มีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่จะศึกษาต่อ เช่น แข่งขันทักษะภาษาอังกฤษ ฯลฯ
      • แข่งขันโอลิมปิกวิชาการ เช่น เข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันหุ่นยนต์ ถ้าต้องการเข้าศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์, แข่งขันวาดภาพ หากต้องการศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ เป็นต้น
  3. สะสมใบประกาศเกียรติบัตรและรูปภาพ

              เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว ควรเก็บรวบรวมหลักฐานการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยการเก็บบันทึกรูปภาพการเข้าร่วมกิจกรรม การแข่งขันต่าง ๆ รวมถึงใบประกาศเกียรติบัตร เพื่อนำไว้เป็นหลักฐานประกอบการทำ Portfolio และสามารถเก็บไว้เป็นที่ระลึกได้อีกด้วย
  4. ตั้งใจเรียนให้ผลการเรียนออกมาดี

              การยื่น Portfolio มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมประกอบด้วย ดังนั้นผลการเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน น้อง ๆ จึงควรตั้งใจเรียน เพื่อให้ผลการเรียนออกมาดี แล้วสามารถยื่นไปยังคณะที่เราต้องการได้ โอกาสที่จะได้ศึกษาต่อก็มีมากขึ้นด้วยเช่นกัน
  5. จัดทำ Portfolio ตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

              การลงมือจัดทำ Portfolio ควรศึกษารายละเอียด, แนวทาง, รูปแบบตามที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด ว่ามีรายละเอียด, รูปแบบการจัดทำ และจัดเรียงอย่างไร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำ โดยส่วนใหญ่แล้ว Portfolio มักจะประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ คือ
      • หน้าปก
      • คำนำ (เหตุผลที่อยากเข้าศึกษาต่อในคณะ สาขานี้)
      • ประวัติส่วนตัว
      • ประวัติการศึกษา
      • กิจกรรมที่โดดเด่น
      • เกียรติบัตรรางวัล
      • ใบรับรองจากอาจารย์ (มีก็ดี ไม่มีก็ได้)
      • หน้าปิดท้าย
    • โดยสามารถปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมและแนวทางที่มหาวิทยาลัยประกาศ เพื่อความถูกต้องตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด และสามารถสร้างความประทับใจให้กับคณะกรรมการที่ร่วมพิจารณารับเข้าศึกษาต่อได้อีกด้วย
  6. การเตรียมคะแนนทดสอบต่าง ๆ

              โดยส่วนมากแล้วรอบการยื่น Portfolio ไม่ได้ใช้คะแนนการทดสอบ แต่มีบางมหาวิทยาลัยอาจจะต้องใช้คะแนนที่มีความเกี่ยวข้อง เช่น
    • ผลการทดสอบวัดทักษะและความรู้ในรายวิชาภาษาอังกฤษ เช่น TOEIC, IELTS, CU-TEP, TU-GET ฯลฯ
    • คะแนนทดสอบวิชาอื่น ๆ เช่น SAT, GSAT, BMAT, GED เป็นต้น

          นอกเหนือจากนี้อาจจะต้องใช้คะแนน TGAT, TPAT ประกอบการยื่น Portfolio ด้วย แต่ควรระวังเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะการทดสอบมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง 

           Portfolio ไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพอสมควรในการเตรียมตัวและจัดทำ น้อง ๆ ควรมีการเตรียมตัวและเตรียมข้อมูลให้พร้อม ตลอดจนการติดตามประกาศของทางมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะได้ไม่พลาดข่าวสารการยื่น Portfolio และใช้เป็นแนวทางในการจัดทำ Portfolio ออกมาได้สมบูรณ์แบบและน่าสนใจที่สุด เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาให้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อได้ อย่างสวยงาม วิชาการ ขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ทุกคน แล้วเจอกันใหม่บทความหน้านะคะ

 

Reference

  • Dek-D.com.  (2566).  จะเตรียม Portfolio ยื่น TCASS66 ต้องเริ่มอย่างไรไปดูกัน.  สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566, จาก https://www.dek-d.com/tcas/60044/
  • Ondemand.  (2566).  How to ทำ “Portfolio” ยังไงให้ปัง พร้อมสอบสัมภาษณ์เข้ามหาลัย.  สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566, จาก https://9va6.short.gy/K95til
  • Smart Math Pro.  (2566).  ตัวอย่าง portfolio ยื่นเข้ามหาลัยทำยังไงให้ติดชัวร์ ควรมีอะไรบ้าง.  สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566, จาก https://9va6.short.gy/X38Nqt

วิชาการ
Logo
Enable registration in settings - general